เจ้าของกิจการต้อง เริ่มเข้าระบบประกันสังคม ตอนไหน ?

เจ้าของกิจการจะต้อง เริ่มเข้าระบบประกันสังคม เมื่อมีการรับคนเข้าทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และจะต้องมีหน้าที่ยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งหากไม่ทำอาจถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตรทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

จะต้องเริ่มต้นเข้าระบบประกันสังคมอย่างไร ?

1.เตรียมเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้าง โดยใช้แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) ในกรณีที่ลูกจ้างที่สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนเป็นครั้งแรก

3. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03 (สปส. 1-03/1) สำหรับลูกจ้างเคยทำงานกับสถานประกอบการอื่นมาก่อนและได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนอยู่ก่อนแล้ว

4. แบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) สำหรับการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกวันที่ 15 ของเดือน

เมื่อเข้าระบบประกันสังคมแล้วนายจ้างมีหน้าทีหักเงินสมทบและนำส่งประกันสังคมโดยหักเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือน แต่ไม่เกินค่าเฉลี่ยรายได้ 15,000 บาท และนายจ้างมีหน้าที่ในการส่งเงินสมทบตามกฏหมายในส่วนของนายจ้างจำนวนเท่ากันกับเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง และจะต้องนำส่งเงินสมทบแทนลูกจ้างทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป