การหักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 ต่างกันอย่างไร ?

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 ต่างกันอย่างไร ?

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 ต่างกันอย่างไร ? ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 คือ แบบที่ยื่นแจ้งเรื่องรายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของกิจการซึ่งผู้ที่จ่ายเงินจะต้องมีหน้าที่ในการ หักภาษี ณ ที่จ่ายกับผู้รับเงิน หลังจากนั้นต้องทำแบบ เพื่อนำส่งนั่นเอง

ภ.ง.ด.3 คือ แบบแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นิติบุคคลทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา และมีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างเพื่อนำส่งโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.3 คือ แบบแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นิติบุคคลทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา
>>> ดาวน์โหลดแบบ ภ.ง.ด.3 <<<

ภ.ง.ด.53 คือ แบบแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นิติบุคคลทำธุรกรรมกับนิติบุคคล และมีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างเพื่อนำส่งโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53 คือ แบบแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นิติบุคคลทำธุรกรรมกับนิติบุคคล
>>> ดาวน์โหลดแบบ ภ.ง.ด.53 <<<

แล้วทั้ง ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ต้องยื่นเมื่อไหร่ ?

ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 จะนำส่งเมื่อมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ( ถ้ายื่นผ่าน internet สามารถนำส่งได้ถึงวันที่ 15 ) หากไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องนำส่ง

บทลงโทษในกรณีต่างๆ

  • กรณีผู้หักมีเจตนาละเลย ไม่นำส่งเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • กรณีผู้มีหน้าที่หัก นำส่งภาษีเกิดนกำหนดชำระภาษี ต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ของภาษีที่ต้องนำส่ง โดยไม่รวมเบี้ยปรับ
  • ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หัก แต่ไม่หัก หรือ หักแล้วแต่นำส่งไม่ครบ ผู้จ่ายเงิน หรือผู้หัก มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับผู้รับเงิน หรือผู้ถูกหัก ที่ไม่ได้ทำการหัก และนำส่งตามจำนวนที่ตกหล่นแล้วแต่กรณี หากกรณีผู้จ่ายเงินทำการหักภาษีไว้แล้ว แต่ไม่นำส่งผู้จ่ายเงิน หรือผู้หัก จะต้องรับผิดชอบการจ่ายภาษีจำนวนนี้ทั้งหมด